หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันนี้ปัญหา พฤติกรรมการดื่มสุราของคนไทยในสมัยปัจจุบันนี้ ไม่ใช่เรื่องธรรมดาอีกต่อไป เพราะว่าพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมอีกทั้งยังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และ ในสมัยปัจจุบันไม่ใช่มีแค่ผู้ใหญ่ที่ดื่มสุรา แต่ยังมีทั้งเด็กวัยรุ่น และเยาวชนที่ดื่มสุราเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะปัญญาของวัยรุ่นในการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสม ไม่ว่าจะเป็น เหล้า เบียร์ ไวน์ มีมากขึ้น ในทุกประเทศ เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบทดลองสิ่งต่างๆและวัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้านซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุนำไปสู่การแสดงออกทางพฤติกรรมต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมของวัยรุ่นเช่นการคบเพื่อน การต้องการความเป็นอิสระ ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับผู้ปกครองอาจเป็นสาเหตุนำไปสู่พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นได้ โดยเฉพาะวัยรุ่นในครอบครัวที่มีปัญหา และในปัจจุบันก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในวัยที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ จากสถิติอายุเฉลี่ยที่เด็กวัยรุ่นเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คืออายุ 12 ปีขึ้นไป และแต่ละปี จะมีวัยรุ่นจำนวน 4 ล้าน 6 แสนคน อายุระหว่าง 15 – 19 ปี จะมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุราเพิ่มขึ้น เช่น ทำให้การเรียนตกต่ำลง มีปัญหากับผู้ปกครอง จากการการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และวัยรุ่นที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจะทำให้เกิดการติดแอลกอฮอล์ได้ จากความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น เช่น ทำให้อ้วน ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของสมอง-พฤติกรรม-เชาวน์ปัญญา มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ผลการเรียนตกต่ำ ก่อให้เกิดการติดสุราเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ มีพฤติกรรมส่อไปในทางการเกิดอาชญากรรมเพิ่มขึ้นจนบางคนถึงขนาดถูกจับกุมดำเนินคดีได้และที่สำคัญ คือปัญหาการเกิดอุบัติเหตุเป็นพฤติกรรมเสี่ยงอย่างหนึ่งที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี โดยเฉพาะอุบัติเหตุจากการจราจรทางบนท้องถนน ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่มีความรุนแรง และทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายๆวันเช่น เทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น
นอกจากปัญหาพฤติกรรมการดื่มสุราของวัยรุ่นแล้ว สำหรับผู้ใหญ่เองก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะการที่เด็กดื่มสุรา ส่วนหนึ่งก็อาจเกิดจาการอบรมเลี้ยงดูจากบิดา มารดาด้วย
และถ้าหากในครอบครัว บิดามารดามีพฤติกรรมการติดสุรา ก็จะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่บุตร ทำให้ลูกมีปัญหา หรือ อาจเกิดความรุนแรงถึงขั้นเกิดการทะเลาะวิวาทกันเกิดขึ้นภายในครอบครัว
จากปัญหาการดื่มสุราไม่ได้เป็นเพียงปัญหาในระดับครอบครัวเท่านั้น แต่เป็นปัญหาระดับประเทศ เพราะ หลังจากการดื่มสุราแล้วก็อาจเกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่น การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ปัญหาอาชญากรรม จากคดีต่างๆตามมาหลายคดี
จะเห็นว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนก่อให้เกิดผลกระทบมากมาย และในปัจจุบันนักเรียน นิสิต นักศึกษา ต้องเรียนและพักอาศัยท่ามกลางร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งความหนาแน่นของร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษามีผลต่อการเพิ่มแรงจูงใจในการดื่มและสร้างทัศนคติทางบวกต่อการดื่ม รวมทั้งเพิ่มจำนวนการเป็นนักดื่ม ดังนั้น การมีมาตรการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น ก่อนที่ประเทศไทยจะครองแชมป์นักดื่มของโลก
จากสถานการณ์การดื่มสุราของวัยรุ่นไทยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เป็นที่สนใจมากในสังคม สังคมก็เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจากการดื่มสุราเป็นอย่างมากจึงพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธีให้กับประชาชนได้นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
เรื่อง พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น
ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก(WHO)พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์มากจัดเป็นอันดับ 5 ของโลก และปัจจุบันนี้มีจำนวนผู้ดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น กลุ่มที่น่าเป็นห่วงซึ่งเป็นนักดื่มหน้าใหม่ คือ กลุ่มวัยรุ่นที่มีนักดื่มมากขึ้น โดยวัยรุ่นเพศชายอายุ 11 – 19 ปี ที่บริโภคเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ มีจำนวนประมาณ 1.06 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21.23 ของประชากรในกลุ่มอายุนี้ ปรากฏการณ์ที่น่าเป็นห่วงคือ นักเรียนชายและหญิงระดับชั้นมัธยมปลาย และระดับ ปวช.ที่เคย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ ร้อยละ 50 เริ่มดื่มเมื่ออายุต่ำกว่า 15 ปี ทั้งนี้ ผู้ชายเริ่มต้นดื่ม ในอายุน้อยกว่าผู้หญิง แต่ กลุ่มผู้หญิงวัย 15 – 19 ปี เป็นกลุ่มที่น่าจับตามากที่สุดเนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนเกือบ 6 เท่า คือจากร้อยละ 1.0 เป็นร้อยละ 5.6 และในกลุ่มหญิงในวัยนี้เป็นผู้ดื่มประจำถึง ร้อยละ 14.1 (ดื่ม 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ถึงดื่มครึ่งวัน)
ปัญหาการติดสุราและการดื่มสุราเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในวัยผู้ใหญ่เท่านั้นแต่ยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนของเราที่มีอายุระหว่าง( 12-19 ปี) ที่ดื่มสุราและเบียร์ โดยผู้ชายดื่มมากกว่าหญิง 9 เท่า โดยเฉพาะนักดื่มหน้าใหม่ ที่ผู้ผลิตเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เด็กผู้หญิง (วัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปี มีจำนวนการดื่มสุราเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าตัว
จากการสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประชากรอายุกลุ่มเยาวชนอายุ 15.24 ปี เป็นกลุ่มที่มีการดื่มสุราและเครื่องดื่มมึนเมาร้อยละ 23.5 โดยชายมีอัตราการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มมึนเมาสูงกว่าหญิงในทุกกลุ่มอายุและในประเทศไทยพบว่า วัยรุ่นที่เริ่มดื่มสุราครั้งแรกเมื่ออายุ 15 ปี มีความสัมพันธ์กับการติดสุรา(Alcohol Dependent)มากกว่าวัยรุ่นที่ดื่มสุราครั้งแรกเมื่ออายุ 20 ปีถึง 5 เท่า นอกจากนี้ การดื่มสุรา และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกโดยไม่ตั้งใจ และมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย รวมทั้งก่อให้เกิดความรุนแรงระหว่างวัยรุ่นด้วยกันและต่อวัยผู้ใหญ่ด้วย นำไปสู่สาเหตุการตาย 3 อันดับจากอุบัติเหตุรถยนต์ การฆ่าตัวตาย การฆ่าผู้อื่นตายล้วนมีการดื่มสุราและของมึนเมาเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
สาเหตุที่เด็กวัยรุ่นมีการดื่มสุรา เพราะ
1. เพื่อนชักชวนให้ดื่ม การเข้ากลุ่มเพื่อนและต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อนเมื่อเพื่อนชวนก็เลยยอมตามเพื่อน
2. เพื่อความสนุกสนาน ร่วมวงกับเพื่อน ๆแล้วเกิดความสนุกสนาน
3. ถูกยุ ถูกท้าทายให้ดื่มสุรา เช่น “ไม่ดื่มไม่ใช่ชาย” “ถ้าเป็นชายจริงต้องดื่ม”
4. ดื่มสุราตามเทศกาล ดื่มเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน
5. ดื่มเพื่อคลายความทุกข์ เมื่อมีความทุกข์ใจ การดื่มสุราจะทำให้ผู้ดื่มมีความรู้สึกตัวน้อยลง มีความสนุกเพิ่มขึ้น อยากสนุกมากขึ้น จึงทำให้ลืมความทุกข์ใจได้ชั่วขณะ
6. ดื่มเพื่อลดปมด้อยโดยการแสดงพฤติกรรมเด่น การดื่มสุราทำให้เกิดความกล้าที่จะแสดงพฤติกรรมที่ปกติไม่กล้าแสดงออก สิ่งที่เก็บกดก็จะแสดงออกมาโดยไม่คำนึงว่าจะทำให้ใครเดือดร้อนหรือโดยไม่กลัวกฎหมายลงโทษ เช่น ปกติไม่กล้าสู้คน เป็นคนเก็บกด ก็เอะอะ โวยวาย พูดเสียงดัง คุยโว ท้าตีท้าต่อย บางคนอวดร่ำอวดรวย แจกเงิน ฯลฯ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นมี 3 ปัจจัย คือ เพศ อายุ ที่พักอาศัย ทัศนคติต่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่านิยมการไม่ดื่ม และการรับรู้ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเอื้อ คือ การเข้าถึงแหล่งซื้อขาย และความสัมพันธ์ของครอบครัว ส่วนปัจจัยเสริม ได้แก่ พฤติกรรมการดื่มของเพื่อนสนิท และการรับอิทธิพลจากสื่อโฆษณา ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยปัจจัยนำเข้า ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมบางกลุ่มที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น เช่นรายได้ที่ได้รับ การศึกษาของบิดามารดา ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหตุจูงใจก่อนดื่มเป็นต้น แต่เมื่อพิจารณาถึงอิทธิพลหลัก คือ เพื่อนสนิทที่มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีอิทธิพลมากที่สุดในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น
ลักษณะของความสัมพันธ์กับเพื่อนมีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นเพราะ เพื่อนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของวัยรุ่น ซึ่งเป็นได้ทั้งการปรับพฤติกรรมการดื่มให้เหมือนเพื่อน และชักชวนให้เพื่อนดื่ม เพื่อนอาจเป็นผู้ส่งเสริมให้ดื่มหรือหยุดดื่ม และเพื่อนสามารถช่วยเพื่อนให้หยุดดื่มได้ คำถาม คือ อิทธิพลของเพื่อนจะกระทบต่อการดื่มสุราเท่ากันหรือไม่ในแต่ละกลุ่ม ความสัมพันธ์ของเพื่อนมีหลายรูปแบบ ความสัมพันธ์กับเพื่อนอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกันและไม่เท่าเทียมกัน คือ พฤติกรรมการดื่มสุราอันเนื่องมาจากอิทธิพลของเพื่อนสนิท เช่น ชนิดของเพื่อนและลักษณะของเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้พฤติกรรมที่วัยรุ่นจะถูกครอบงำโดยเพื่อน นั่นคือ ผู้ที่ดื่มสุรามักมีเพื่อนดื่มสุรา เป็นต้น
ปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พบว่า ประชากร มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และผลเสียจากพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า มีทรัพย์สินเสียหายจากอุบัติเหตุจราจร และความสูญเสียทางอ้อม เช่น การหยุดงาน เป็นต้น และพบว่ากลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนชายได้รับอุบัติเหตุสูงจากการเมาแล้วขับ ถูกคนเมาชน และโดยสารในรถที่คนเมาขับ ส่วนการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทย ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจครั้งล่าสุดในปี 2550 พบว่า ประชากรกว่า 15 ล้านคน หรือคิดเป็น 30% ของประชากร ดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของวัยรุ่นเป็นพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสมองที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ เช่นการดื่มสุราทั้งๆ ที่มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายอนุญาตให้ดื่มสุรา ซึ่งส่งผลเสียตามมามากมาย เช่น อ้วน ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของสมอง-พฤติกรรม-เชาวน์ปัญญา พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ อุบัติเหตุบนท้องถนน ผลการเรียนตกต่ำ และการติดสุราเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ที่สำคัญอาจก่อให้เกิดก่ออาชญากรรมทางเพศมีแนวโน้มที่จะทำร้ายเหยื่ออย่างรุนแรง โดยผู้กระทำมักมีการเมาสุราก่อนหรือระหว่างการทำร้ายทางเพศ
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ ครอบครัว และสังคมได้ สุราจะมีผลกระทบกับคนมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับปริมาณ ความถี่ และความเร็วในการดื่ม เป็นหลัก และสิ่งที่มีปัจจัยร่วมที่สำคัญคือ อายุ เพศ น้ำหนักตัว ความต้านทานต่อสุรา ช่วงเวลาของวันขณะดื่ม ดื่มขณะท้องว่างหรืออิ่ม กำลังเหนื่อย หรือปกติ และกำลังใช้สารเสพติดชนิดอื่นร่วมด้วยหรือไม่ สำหรับในรายที่ดื่มมากเกินไป ดื่มเป็นประจำเป็นเวลานานๆ สามารถทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรง คือ การติดสุรา และที่แน่ๆปัญหาที่ตามมาคือ ปัญหาครอบครัวมีการทะเลาะเบาะแว้งกัน ครอบครัวแตกแยก ส่งผลถึงลูกด้วย ทำให้เกิดหนี้สิน ปัญหาการงาน ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน ประสิทธิภาพการทำงานต่ำ มีปัญหากับผู้ร่วมงาน และอาจต้องออกจากงานเป็นคนตกงาน ท้ายที่สุดคือปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น โรคตับแข็ง เลือดออกในกระเพาะอาหาร ขี้ลืม ขาดสติ อาจทำร้ายผู้อื่น หรือขับรถโดยประมาท ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึมเศร้า มีอาการทางจิต
หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าสุราหรือเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์เป็นสารกระตุ้นประสาท เพราะหลังจากการดื่มไปสัก 2-3 แก้ว มักรู้สึกว่าเริ่มควบคุมตัวเองไม่ได้ เริ่มกล้าพูด แต่ความจริงแล้วเป็นสารเสพติดประเภทกดประสาท ซึ่งจะทำให้สมองทำงานช้าลง อารมณ์เศร้า คิดช้า ถ้าดื่มมากขึ้นอาจพูดไม่รู้เรื่อง อ้อแอ้ เดินไม่ตรงทาง สับสน ขาดสติ ได้
สำนักงานสาธารณสุขจึง ได้มีการดำเนินงานรณรงค์แก้ไขปัญหาเพื่อลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยดำเนินงานควบคู่ไปกับรณรงค์บังคับใช้กฎหมายห้ามจำหน่ายสุราและบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี เพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติสุรา ปี 2493 และพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 สิ่งที่ต้องดำเนินการในปี 2552 คือ สำรวจปัญหาผลกระทบของครอบครัว สังคมที่ได้รับจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผลที่ได้จากการสำรวจพฤติกรรมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และเป็นข้อเสนอแนะในการลดปริมาณการดื่มสุราได้ก็จะส่งผลต่อการลดความรุนแรงในครอบครัว ลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุจราจร ลดภาระพ่อแม่ผู้ปกครอง และลดภาระทางสังคมลงไปด้วย
บทวิเคราะห์พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรไทย
ข้อมูลจากสํานักงานสถิติแห่งชาติ เรื่องการสํารวจพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรที่มีอายุตั้งแต 15 ปีขึ้นไปประจําป 2550สรุปผลการสํารวจ ดังนี้
ประชากรอายุ 15ปีขึ้นไป 51.2 ล้านคน มีผู้ที่ดื่มสุรามี 14.9 ล้านคนหรือ ร้อยละ 29.3
- ผู้ชายดื่มสุรามากกว่าผู้หญิงประมาณ 6 เท่า
- ผู้ที่อยู่นอกเขตเทศบาลมีอัตราการดื่มสุราสูงกว่าผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาล คือร้อยละ 31.0 และ 25.4 ตามลําดับ
- กลุ่มเยาวชนมีอัตราการดื่มสุราสูง ร้อยละ 21.9
- กลุ่มวัยทํางานมีอัตราการดื่มมากกว่ากลุ่มอื่นๆ คือร้อยละ 34.4
- ผู้ที่ปัจจุบันไม่ดื่มแล้ว แต่ในอดีตเคยดื่มมี 3.8 ล้านคน หรือร้อยละ 7.5 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป
ตาราง จำนวนและร้อยละของประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำแนกตามพฤติกรรม
การดื่ม เพศ เขตการปกครอง และ กลุ่มวัย พ.ศ. 2550
ส่วนอัตราการดื่มสุราของประชากรในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา (2544-2550) มีแนวโน้มลดลงตามลําดับ คือจากร้อยละ 32.7 เป็น 29.3 โดยผู้ชายมีอัตราการดื่มสุราลดลงจากร้อยละ 55.9 เป็น 51.0 และผู้หญิงลดลงจาก ร้อยละ 9.8 เป็น 8.8
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชน
จากการสำรวจในกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง ในช่วง 7 ปี ในปี พ.ศ. (2544-2550) พบว่าในช่วงแรก (2544) มีอัตราร้อยละ 21.6 แต่ในช่วงป 2547-2549 มีอัตราสูงขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 23 และลดลงเป็นร้อยละ 21.9 ในป 2550 โดยเพศชายมีอัตราการดื่มสุราสูงกว่าเพศหญิงเฉลี่ยประมาณ 8 เท่าของทุกป แต่พบว่าทุกเพศมีแนวโน้มอัตราการดื่มลดลงในป 2550
อายุที่เริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประชากรไทยเริ่มดื่มสุราโดยเฉลี่ยเมื่ออายุประมาณ 20.5 ป โดยผู้ชายเริ่มดื่มเร็วกว่าผู้หญิง คือ 19.5 ป และ 25.9 ปีตามลำดับ
- กลุ่มเยาวชน เริ่มดื่มอายุ ประมาณ 17 ปี
- คนวัยทํางานและวัยสูงอายุเริ่มดื่มที่อายุ 20 และ 23 ป ตามลําดับ
ตาราง อายุเฉลี่ยของผู้ที่เริ่มดื่มสุราจำแนกตาม อายุเฉลี่ยที่เริ่มดื่ม
เพศและกลุ่มวัย พ.ศ.2550
ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์- 3 ลําดับแรกของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือเบียร มากที่สุด (ร้อยละ 45.7 )
- รองลงมา คือสุราขาวกับสุราสียี่ห้อไทย คือ (ร้อยละ 39.2 และ 10.7 ตามลําดับ)
- ผู้หญิงนิยมดื่มเบียร์มากกว่าสุราประเภทอื่น คือร้อยละ 59.6
- ผู้ชายนิยมดื่มทั้งเบียร และสุราขาวในสัดส่วนที่สูง คือร้อยละ 43.1 และ 41.7 ตามลําดับ
หากพิจารณาตามเขตการปกครอง พบว่า
- ประชากรในเขตเทศบาลนิยมดื่มเบียร์มากที่สุด (ร้อยละ 60.6)
- นอกเขตเทศบาลนิยมดื่มสุราขาว (ร้อยละ 48.0)
- กลุ่มวัยเยาวชนและวัยทํางานนิยมดื่มเบียร์มากที่สุด คือร้อยละ 56.0 และ 45.4 ตามลําดับ
- กลุ่มวัยสูงอายุดื่มสุราขาวมากที่สุด คือร้อยละ 56.2)
ตาราง ร้อยละของประชากรที่ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มมึนเมาจำแนกตามประเภท สุราที่ดื่มมาก 3 ลำดับแรก เพศ เขตการปกครอง กลุ่มวัย พ.ศ.2550
สาเหตุส่วนใหญ่ที่คนเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การเข้าสังคม/การสังสรรค (ร้อยละ 41.2)
- อยากทดลองดื่ม และดื่มตามอย่างเพื่อน (ร้อยละ 29.8 และ 23.3 ตามลําดับ)
- ผู้หญิงที่เริ่มดื่ม เพราะการเข้าสังคม/การสังสรรค์สูงกว่าผู้ชายมากเกือบเป็น 2 เท่า คือ
ร้อยละ 61.0 และ 37.6 ตามลําดับ และอยากทดลองดื่มสูงถึงร้อยละ 32.7
ตาราง จำนวนร้อยละของประชากร อายุ15ปี ขึ้นไป
ที่ดื่มสุรา หรือ เครื่องดื่มมึนเมา จำแนกตามสาเหตุที่เริ่มดื่ม เพศ พ.ศ.2550
สาเหตุที่ “ดื่ม” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นอันดับ 1 มีการสังสรรค์เป็นประจำ 47.3%
อันดับ 2 เพื่อนชวนให้ดื่ม 18.51%
อันดับ 3 เครียด 9.04%
อันดับ 4 เมื่อมีโอกาสสำคัญๆ 8.11%
อันดับ 5 อยากทดลอง 6.93%
ประเภทของแรงจูงใจในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น
ร้อยละ 52.7 ดื่มสุราเนื่องจากแรงจูงใจทางสังคม
ร้อยละ 27.8 ดื่มเนื่องจากแรงจูงใจด้านรสชาติและอื่นๆ
ร้อยละ 11.1 ดื่มเนื่องจากแรงจูงใจแบบเผชิญอารมณ์ไม่ดี
ร้อยละ 8.4 ดื่มเนื่องจากแรงจูงใจชนิดเสริมให้อารมณ์ดี
สรุป
สรุปได้ว่า พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นมีมากกว่าในอดีตเป็นอันมาก โดยเฉพาะวัยรุ่นเพศชายมีอัตราการดื่มมากกว่าเพศหญิงประมาณ 8 เท่า เพศชายมีการเริ่มดื่มอายุต่ำสุด คือ อายุ 11 ปีขึ้นไป และเพศหญิงที่เริ่มดื่ม คือ อายุ 15 ปีขึ้นไป และจะเห็นได้จากผลสำรวจว่าเยาวชนที่มีการเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงสุดจะอยู่ที่อายุ 17 ปี
ส่วนประเภทแอลกอฮอล์ที่ทำให้วัยรุ่นเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันดับ 1 คือ เบียร์ สาเหตุที่ทำให้เริ่มดื่ม เช่น มีการเข้าสังคมหรือมีการสังสรรค์กันเป็นประจำ อยากทดลองดื่ม และเพื่อนชวนให้ดื่ม ตามลำดับ สำหรับแรงจูงใจที่สำคัญในการทำให้วัยรุ่นดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ แรงจูงใจทางสังคมและเป็นที่ยอมรับของบรรดาเพื่อน
ความจริงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น คงห้ามกันลำบากเนื่องจากกระแสโลก กระแสทุน กระแสบริโภคนิยม มีแนวโน้มจะไปในทิศทางนั้น เราสังเกตจากการดูโฆษณารวมทั้งสื่อในรายการบันเทิงต่างๆ เช่น ละครในโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมทั้งรายการเพลงต่างๆ ที่ทำให้วัยรุ่นอยากดื่ม และอยากทำตามสื่อต่างๆเหล่านั้น
ปัจจุบันธุรกิจร้านสุรา เบียร์ ก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยบริษัท สุรา เบียร์ พยายามหาลูกค้ารายใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น จึงไม่แปลกใจเลย ว่าทำไม ร้านขายสุรา เบียร์ จึงเกิดขึ้นในบริเวณ มหาวิทยาลัย สถานศึกษา มากขึ้นทุกวัน และเจ้าของธุรกิจขายสุรา เบียร์ ก็คิดว่าการขายสุรา เบียร์ไม่ใช่เรื่องผิดศีลธรรมเพราะเป็นการประกอบธุรกิจที่สุจริตอย่างหนึ่ง
ถึงแม้รัฐบาลจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศ ก็ตามเพราะ กฎหมายเป็นกฎหมายจำกัดสถานที่จำหน่าย แต่ไม่ใช้กฎหมายห้ามดื่ม ดังนั้น ผู้ที่เป็นนักดื่มก็คงต้องหาดื่มกันต่อไปในสถานที่ซึ่งกฎหมายเปิดช่องให้จำหน่ายได้
ผลกระทบจากการดื่ม สุรา เบียร์ ของวัยรุ่นซึ่งอยู่ในวัยเรียน ส่วนมากมักทำให้การเรียนตกต่ำ เนื่องจากต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเที่ยวกลางคืน และ เมา เนื่องจากเวลาดื่มเหล้า เบียร์ไปมากๆ ติดต่อกันหลายวัน จะทำให้รู้สึกเบลอๆ มึนๆ ไม่สดชื่น รู้สึกเฉื่อยชา หลงๆ ลืมๆ ทำให้การศึกษาเล่าเรียนไม่มีประสิทธิภาพ เพราะสมองสั่งการช้าลง
การดื่ม เหล้า เบียร์ ของวัยรุ่นยังนำไปสู่การมีเรื่องทะเลาะวิวาทกัน บางรายเมาแล้วขับ ซึ่งนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุมากมาย ถึงแม้รัฐบาลจะขึ้นภาษี สุรา เบียร์และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ตาม แต่การดื่มสุรา เบียร์ ของประชาชนคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นคงต้องมีต่อไป และรัฐบาลจะใช้กฎหมายบังคับไม่ให้ดื่มก็คงทำได้ยาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตใต้สำนึกของผู้ดื่มแต่ละคนด้วยว่าจะพึงปฏิบัติตนอย่างไรในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง และ หันมารักษาสุขภาพของตนเองให้มากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
สุรานั้นเป็นยาเสพติดประเภทหนึ่งที่ก่อให้เกิดโทษมากมายทั้งต่อผู้ดื่มทั้งทางตรงคือ ก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆ และทางอ้อมที่ก่อให้เกิดปัญหาระดับประเทศในหลายๆด้าน เช่น ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการพัฒนาประเทศ นอกจากนั้นการติดสุราก็ยังเป็นพื้นฐานทำให้ติดยาเสพติดขั้นร้ายแรง เช่น ยาบ้า อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันเยาวชนไทยก็ยังมีแนวโน้มในการติดสุราเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งมีสาเหตุหลายๆ ประกอบด้วยกัน เช่น การโฆษณาจากสื่อต่างๆ การอยากทดลองเป็นต้น
สำหรับท่านที่เป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุตรหลาน ไม่ควรปล่อยให้บุตรหลานทดลองดื่มเหล้า ดื่มเบียร์ตามใจ โดยหวังว่าสักวันหนึ่งวัยรุ่นคงจะเบื่อและเลิกไปเอง พ่อแม่และผู้ปกครองควรให้ความรู้ความเข้าใจกับบุตรหลานของตัวเอง เกี่ยวกับข้อเท็จจริงและโทษของเครื่องแอลกอฮอล์ประเภทต่างๆ เช่น เหล้า เบียร์ และไวท์ ว่ามีผลอย่างไรต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มสุรากับการขับขี่รถบนท้องถนนที่มีสถิติอุบัติเหตุค่อนข้างสูง รวมทั้งการหันเหไปเสพยาเสพติดจากการเริ่มดื่มสุราของวัยรุ่นด้วย ซึ่งปัจจุบันทางภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรต่างๆ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ขึ้น คนในสังคมก็จะได้มีสุขภาพที่ดี อัตราการเกิดอุบัติเหตุก็จะลดน้อยลงไปด้วย และในอนาคตก็คงจะมีการลดจำนวนของผู้คนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง เพราะสังคมเล็งเห็นปัญหาและโทษของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างแท้จริง
บรรณานุกรม
1. http://www.krulemon.com/board2/aspboard_Question.asp?GID=6
2. http://www.suicidethai.com/1667/1667view.asp?id=3217
3. http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080812132509AAk1V9.J
4. http://www.jvkk.go.th/research/qrresearch.asp.?code=0103088
5. http://www3.who.int/whosis/alcohol/alcohol_apc_data.cfm
6. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19028418
7. http://www.add-resources.org/hivaids.76600.en.html
8. http://www.paloaltoonline.com/weekly/morgue/2005/2005_08_17.drinking17.shtml
9. http://www. hitap.net/backoffice/report/ reports_display2. php? id=74
10. สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)